ทำความเข้าใจเกี่ยวกับธีม one page

ในการที่เราจะลงมือเพื่อทำเว็บไซต์  WordPress ให้ดูแตกต่างและสวยงามนั้น แน่นอนว่าปัจจัยหรือองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญก็ต้องขึ้นอยู่ Theme ที่เราจะเลือกนำมาใช้ การเลือกทำด้วย WordPress (ที่ไม่ใช่ Web Designer หรือ Web Developer โดยปกติทั่ว ๆ ไปแล้ว ถ้าเราเลือกซื้อธีมแบบพรีเมี่ยมเลย โดยการเลือกสั่งซื้อเอาจากเว็บแหล่งรวมซื้อและแหล่งขายธีม (Theme Marketplace) เพื่อจุดประสงค์ในการนำมาใช้ในงานของตัวเราเองหรือจะเป็นการทำให้กับลูกค้าของเรา จะมีทางเลือกกับเว็บรวมธีมเหล่านี้ถ้าเราได้ติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวของเขาอย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะได้แบบที่โหลดฟรีและเป็นของดีด้วยมาใช้ One Page  เป็นธีมแบบหน้าเดียวที่มีการทำงานโดยการแสดงคุณลักษณะที่จำเป็นที่ควรจะมีไว้ทั้งหมดของเว็บไซต์ในโฮมเพจ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยอย่างดีให้ผู้ที่นำไปใช้สามารถรับข้อมูลทั้งหมด ที่จำเป็นได้อย่างง่ายดายภายในการรวมไว้ในหน้าเดียว

One Page นั้นแท้จริงก็คือ WordPress Theme ที่สะดวกและใช้ได้กับทั้งมืออาชีพและทั่วๆไป มันถูกออกแบบและสร้างขึ้นมาเพื่อง่ายในการออกแบบ แก้ปัญหาที่จากเดิมการทำธีม One Page เป็นเรื่องที่ยุ่งยากและใช้เวลาในการทำขึ้นมา One Page จึงถูกพัฒนาให้เป็นธีมที่มีความหลากหลายเพื่อนำไปสำหรับการทำเว็บไซต์สำเร็จรูปที่สวยงาม ธีมของ One page นี้เรียกได้ว่าเป็นตัวช่วยที่มีทั้งคุณลักษณะที่เต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้การออกแบบเว็บไซต์ออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมแต่สิ่งสำคัญคือการเลือก one page ธีม ที่ใช้งานง่ายและเหมาะกัยลักษณะการใช้งาน และความต้องการในงานเว็บไซต์ของคุณ คุณต้องรู้ก่อนว่าคุณต้องการนำไปใช้ในงานประเภทใด เช่น  Landing Page, อีคอมเมิร์ซ, ธุรกิจในท้องถิ่น, เว็บไซต์ส่วนบุคคล ในบางการใช้งานก็จำเป็นจะต้องใช้เป็นชุดรูปแบบ WordPress ขั้นสูงซึ่งก็มีให้เลือกใช้ในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์จากหลายบริษัท ซึ่งพร้อมใช้งานบนเว็บกันแบบสดบาง One page ธีมยังเหมาะกับร้านค้าออนไลน์ ที่สามารถโชว์ผลิตภัณฑ์ของคุณที่หน้าแรกและใช้ไซต์ของคุณเป็นร้านค้าออนไลน์ แล้วก็ยังมีในส่วนติดต่อกับฟังก์ชันการสร้างโอกาสในการขาย ธีม WordPress ที่เลือกควรจะมีความสวยงามซึ่งสามารถใช้เพื่อสร้างเว็บไซต์หนึ่งหน้า ในเวลาเพียงไม่กี่นาทีโดยการลากและวาง มาพร้อมกับหน้าแรกที่ออกแบบไว้พร้อมใช้เนื้อหาที่คุณสามารถปรับแต่งได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ยังควรที่จะมีตัวเลือกการปรับแต่งจำนวนมาก (ภาพพื้นหลังภาพสไลด์โชว์ชนิดเนื้อหาส่วนหัว ฯลฯ ) ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จะช่วยให้คุณสร้างเว็บไซต์หน้าเว็บที่สวยงามและไม่เหมือนใครได้ตลอดเวลา

ยุทธวิธีการสร้างธีมสำหรับ WordPress

wordpress themes ก็คือหน้าตาของเว็บไซต์ของเรา การสร้างธีม wordpress นั้นเป็นเรื่องไม่ยากสามารถทำได้เด้วยตัวเอง ข้อดีก็คือเราจะได้หน้าตาของเว็บไซต์ในแบบที่เราต้องการและได้ wordpress themes ที่เหมาะกับเราอย่างแท้จริง ด้วยวิธีการดังนี้คือ

วิธีสร้างธีม ของ  wordpress มีด้วยกัน 2 วิธีได้แก่

1 ด้วยการแปลง html ให้เป็น wordpress โดยวิธีการนี้เราจะร่างลงในกระดาษเปล่าก่อน โดยการนำ Html มาเขียนเริ่มไปจากส่วนหัว (Header) ไปยังเนื้อหาของมัน(body) และต่อด้วยส่วนท้าย (footer)จะทำให้เราเข้าใจลึก ๆ ในฟังชั่นองค์ประกอบต่าง ๆ ความเป็นมาของหน้าต่าง ๆ แต่ละหน้าทีละหน้า ซึ่งการทำวิธีนี้เราจะไม่เพียงได้ wordpress themes ที่เป็นของเรามาใช้ แต่เราจะได้ทั้งองค์ความรู้ที่จะสามารถไปสร้างได้อีกเรื่อย ๆ และยังพัฒนาต่อยอดไปสู่การทำสิ่งอื่น ๆ ได้อีกมาก อาจจะเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลาแต่รับรองว่าคุ้มมาก

2. วิธีการที่สองนี้ให้เราใช้ตัว Framework ซึ่งเป็นโครงร่างที่อยู่ในขั้นค่อนข้างสมบูรณ์แล้วมาสร้างธีมต่อเลย ซึ่งเป็นวิธีการที่เหมาะกับคนที่มีพื้นฐานดีอยู่แล้วจะใช้ได้และทำได้คล่องกว่า เป็นคนที่มีพื้นฐานเกี่ยวกับการเขียนธีมมาบ้าง เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะไม่เข้าใจโค๊ตบางตัวได้เมื่อทำๆไป วิธีนี้จะช่วยให้ประหยัดเวลาไปได้มาก ทำและนำไปใช้ได้เลยไม่ต้องมานั่นทำตั้งแต่แรกเหมือนกับวิธีที่ 1 framework ที่แนะนำในที่นี้ก็คือ underscore ไม่แนะนำที่จะใช้ตัว Bootstrap เพราะว่าเป็นตัวที่เน้นการจัดการเกี่ยวกับรูป แต่ถ้าคุณต้องการการจัดการเกี่ยวกับรูปเท่านั้นแล้วละก็ ตัว underscore ก็สามารถตอบโจทย์คุณได้ถือว่าดีมากทีเดียว แต่ส่วนของรูปที่ทำได้ก็จะเป็นในรูปแบบของ Html และอีกรูปแบบคือ scc แต่ก็ยอมรับว่าช่วยให้เราใช้งานมันได้ง่ายขึ้นพอสมควร

ส่วนประกอบของธีม

เริ่มจากการที่คุณจะต้องสร้างไฟล์ขึ้นมาเป็นจำนวน 2 ไฟล์คือ Index.php และไฟล์  style.css ซึ่งเจ้าไฟล์ style นี้เองจะเป็นตัวทำหน้าที่ประกาศหรือระบุว่าธีมของเรานั้นมีชื่อว่าอะไร ใครเป็นผู้เขียนและเป็นเวอร์ชั่นที่เท่าไหร่ในการเขียน จากนั้นก็จะมาไล่สร้างส่วนของหน้าต่างอื่น ๆ ต่อไป คือ header.php  single.php  footer.php page.php sidebar.php

ขั้นตอนต่อมาเราก็จะมาสร้างเทมเพลตในแบบที่เหมาะกับเฉพาะเราที่จะใช้กัน เช่น post Format หรือเลือกแบบ page-two-column.php ในกรณีที่เราต้องการแบ่งให้เกิดเป็น 2 คอลัมน์  เครื่องมือที่เรานำมาใช้เพื่อปรับแต่งธีมของเราได้ก็ได้แก่ เมนู วิตเจ็ต ตัวปรับแต่งธีม และเมต้าบล็อค และที่ลืมไม่ได้สำคัญมาก ๆ ก็คือ ส่วนของความปลอดภัย เครื่องมือแปลภาษา และอย่าลืมนำปลั๊กอินมาใช้ร่วมประกอบเข้าไปในธีมที่เราสร้างขึ้นด้วย

สร้าง theme wordpress เริ่มต้นยังไง ตรงไหน

การสร้างเว็บไซต์บนโลกออนไลน์ เดี๋ยวนี้ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว โปรแกรมสำเร็จรูปกดเพียงแค่ไม่กี่คลิ๊กมีเยอะแยะมากมายหลายรูปแบบ WordPress ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในนั้น การสร้างเว็บไซต์ผ่าน WordPress กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การสร้าง แต่จะทำให้ธีมของเว็บไซต์เราแตกต่างยังไงต่างหากคือคำถามสำคัญ หากเราอยากแตกต่างวิธีที่ง่ายและดีที่สุดก็คือ ทำเองนั่นแหละ ว่าแต่ทำเองจะยากไหมนะ

สร้าง theme ตามที่ใจต้องการ

เรื่องแรกที่สำคัญและยากที่สุด นั่นคือการตีความหมายของ theme ของเราออกมาว่าต้องการธีมแบบไหน ต้องการให้เป็นอะไรเสียก่อน เพราะหากเราคิดตรงไหนไม่แตกออกมา การจะไปขั้นตอนต่อไปถือว่ายากเลย การสร้างธีมตรงนี้ย่อมหมายถึงรายละเอียดอย่างเช่น สี สัญลักษณ์ คำพูด หรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องด้วย

ลองวาดภาพธีมที่ตัวเองต้องการ

เมื่อเราได้หัวข้อธีมที่เราต้องการแล้ว มาถึงขั้นตอนการออกแบบกันบ้างว่า เราจะทำอย่างไร ขั้นตอนตรงนี้ขอแนะนำว่าควรร่างภาพในกระดาษด้วยดินสอนี่แหละ การร่างภาพนี้จะทำให้เราเห็นเลยว่า ธีมที่เราจะกำหนดขึ้นมานั้นมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร หัวเรื่องตรงไหน เมนูตรงไหน เนื้อหาตรงไหน เมื่อร่างจนพอใจแล้วก็เข้าสู่ขั้นตอนถัดไปได้เลย

เขียนโค้ดไม่เป็นอย่างตกใจ

มาถึงขั้นตอนการลงมือทำ การเขียนธีมนั้น หากจะเริ่มเขียนตั้งแต่ตัวแรกยันตัวสุดท้าย เชื่อว่าคงต้องใช้เวลานานพอสมควรทีเดียว กว่าจะทำได้ ยิ่งถ้าไม่เคยเขียนโค้ดมาก่อนด้วยยิ่งไปกันใหญ่ แต่ถ้าหากเราเขียนโค้ดไม่เป็นทำอย่างไร ไม่ต้องตกใจหากเราเขียนโค้ดไม่เป็นก็สามารถไปดูโค้ดจากเว็บที่เค้าทำไว้แล้วได้ เพียงแค่กดปุ่ม F12 ขึ้นมาเท่านั้นเองจะมีหน้าต่างโผล่ขึ้นมาด้านล่าง นั่นแหละโค้ด ตอนแรกอาจจะดูไม่เข้าใจให้พยายามกดๆคำสั่งแล้วดูความเปลี่ยนแปลงก็จะเข้าใจได้มากขึ้น

หาต้นแบบที่ใกล้เคียง

เมื่อเราพอเข้าใจในโค้ดแต่ละคำสั่งแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็มาที่ปรับแต่งหรือ โมดิฟาย ธีมกันบ้าง แน่นอนว่าเราไม่แนะนำให้ทำใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นเลย เพราะมันเสียเวลา เราขอแนะนำให้เข้าไปในตลาดธีมของ WordPress ตามแหล่งต่างๆ ชอบอันไหนที่มันฟรี หรือจะอันเสียเงินก็ได้ ก็ให้โหลดมาเลย แม้ว่าจะไม่ตรงกับภาพที่เราลงเค้าโครงไว้ที่ขั้นตอนที่ 2 แต่มันต้องมีบางแหละที่ใกล้เคียงกัน

ปรับแต่ง จากโค้ดที่เห็น

เมื่อได้แล้วก็นำ ธีม ที่เป็นต้นแบบที่เราดาวน์โหลดมาปรับแต่ง โดยการปรับแต่งนั้นก็เริ่มจากการปรับแต่งตามที่เราทำได้ตามเมนู จากนั้นในรายละเอียดถ้าไม่อยากจะยาก เราก็ copy คำสั่งที่เราไปดูมาจากเว็บอื่นๆนั่นแหละลองเอามาใส่ มากดดูว่าเป็นอย่างไร แล้วดูผลที่เกิดขึ้นจนกว่าจะพอใจก็จะได้ธีมตามที่เราต้องการแล้ว

สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนเลือกธีม WordPress

ทุกวันนี้การสร้างเว็บไซต์เป็นสิ่งที่สามารถทำได้อย่างง่ายดายด้วยความที่มีตัวช่วยดีๆ ทำให้โลกออนไลน์เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอดในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา สิ่งหนึ่งสำหรับคนทำเว็บไซต์ก็คือการเลือกธีมในการทำว่าจะเลือกแบบไหนดี ซึ่งการมีตัวช่วยอย่าง WordPress ก็ทำให้ปัญหาตรงจุดนี้ง่ายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามก่อนจะมีการเลือกธีมจาก WordPress ก็ควรต้องมีการพิจารณาในด้านต่างๆ ให้ดีเสียก่อน

สิ่งที่จำเป็นต้องพิจารณาก่อนเลือกธีม WordPress

1. จะเลือกแบบฟรีหรือเสียเงิน – หากเราลองเสิร์ช Google ว่า WordPress Theme ก็จะมีธีมให้เราเลือกมากมายมหาศาลไม่ว่าจะฟรีหรือเสียเงิน ซึ่งมันขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคนว่าต้องการเลือกแบบไหน หากเริ่มต้นใหม่ๆ ก็อาจจะใช้ของฟรีแต่ถ้าทำแบบเป็นกิจจะลักษณะก็แนะนำให้ใช้แบบเสียเงินจะได้ของดีมากกว่า
2. ความเร็วของการเลือกใช้ธีม – อัตราความเร็วสำหรับการโหลดหน้าเว็บนอกจากจะช่วยในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพของ User Experience กับเว็บแล้ว แต่ยังช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพเกี่ยวกับการจัดอันดับ Search Engine ด้วย ซึ่งตรงจุดนี้ก็ต้องเลือกให้ดีว่าต้องการธีมที่เบาหรือมีฟีเจอร์หนักๆ
3. การเลือก Design กับ User Experience – แต่ละธีมของการใช้ WordPress ก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งเรื่องของธีมนี้จะช่วยเหลือให้การทำงานบนเว็บไซต์คุณง่ายมากยิ่งขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นตรงจุดนี้ก็จำเป็นต้องพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจใช้งาน
4. รองรับการทำงานได้หลากหลายอุปกรณ์ – การเลือกธีมที่ดีต้องสามารถใช้งานได้กับหลายอุปกรณ์ไม่ใช่แค่คอมพิวเตอร์หรือมือถือเพียงอย่างเดียว เพราะยุคนี้มันขึ้นอยู่กับการเลือกใช้งานของแต่ละคนว่าอยากเข้าไปเว็บด้วยวิธีไหนมากกว่ากัน
5. สังเกต SEO – ทุกวันนี้การทำเว็บสิ่งที่จะช่วยให้เว็บเติบโตได้เร็วคือการมีสิ่งที่เรียกว่า SEO หรือ Search Engine Optimization เมื่อเป็นเช่นนี้การเลือกธีมที่ดีใน WordPress ก็จำเป็นต้องมีช่องทางที่สามารถให้เราทำ SEO ได้ด้วยเช่นกันถึงจะคุ้มค่า
6. สามารถปรับแต่งได้โดยง่าย – แดชบอร์ดที่สามารถปรับปรุงได้ง่ายเป็นสิ่งพื้นฐานหลักของ WordPress ในยุคนี้ ซึ่งจะช่วยให้คุณเกิดความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นและยังช่วยให้การทำงานหรือปรับแต่งในสิ่งที่ต้องการทำได้อย่างไม่ยากเย็น
7. ความปลอดภัย – ในจุดสุดท้ายที่จะต้องพิจารณาการเลือกธีม WordPress ก็คือเรื่องของความปลอดภัย ซึ่งสิ่งที่จะช่วยให้เราประเมินได้ว่าปลอดภัยหรือไม่ก็คือรีวิวของผู้ที่เคยใช้งานธีมดังกล่าวไปแล้ว ซึ่งการสังเกตตรงจุดนี้จะช่วยให้เราได้ธีมที่ดีรวมถึงมีความปลอดภัยในการใช้งานอีกด้วย ไม่ต้องเป็นกังวลในภายหลัง

การทำเว็บไซต์แบบ Responsive

บ่อยครั้งที่เราจะพบว่าเวลาที่เราเปิดเว็บต่างๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์เว็บดังกล่าวจะมีความสวยงามมากๆ แต่ในทางกลับกันเมื่อเราไปเปิดผ่านมือถือหรืออื่นๆ ภาพที่เห็นจะเป็นตัวหนังสือมั่วๆ วางกันอยู่เต็มไปหมดซึ่งนั่นเป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่คนทำเว็บสมัยก่อนต้องพบเจอ ทว่าในปัจจุบันเราสามารถที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยการทำเว็บแบบ Responsive โดยมีจุดประสงค์หลักๆ ก็เพื่อต้องการให้ผู้ใช้งานใช้ได้ง่ายที่สุด เป็นการนำเทคนิคของการทำเว็บหลายๆ แห่งมารวมกันซึ่งการทำเว็บไซต์แบบ Responsive ก็ไม่ได้เป็นเรื่องยากอะไรเลย

การทำเว็บไซต์ในแบบ Responsive

  1. ออกแบบให้มีความเรียบง่าย – สิ่งแรกที่เป็นเรื่องสำคัญและควรต้องคำนึงถึงมากที่สุดก็คือการออกแบบเว็บไซต์ให้เรียบง่ายอะไรที่ไม่จำเป็นก็อย่าใส่เข้าไป รวมถึงควรจะเขียน html ให้ง่ายที่สุด โดยให้พยายามคิดเนื้อหาทั้งหมดที่มีความเรียบง่ายโดยยังไม่จำเป็นต้องสนใจว่าจะต้องเป็นเนื้อหาที่แสดงบนมือถือได้ง่าย ให้คิดเนื้อหาตามปกติที่เราอยากทำมากกว่าว่าต้องการให้เว็บมีอะไรบ้าง
  2. เริ่มจากหน้าจอเล็กสุดก่อนเสมอ – ถือว่าเป็นจุดสำคัญในการออกแบบความยากคือคนทั่วไปจะยังคงติดภาพการออกแบบของ PC วิธีง่ายๆ ก็คือให้ลืมแบบนั้นไปได้เลยแล้วหันมาสนใจกับจอเล็กแทน ให้คิดไว้เลยว่าหากหน้าจอเล็กๆ เราจะออกแบบกันอย่างไร อะไรที่ไม่จำเป็นอย่างใส่เพราะมันจะเกะกะ แล้วใส่ html ให้เรียบร้อย
  3. กำหนดขนาดของ Relative – เมื่อใส่ html เรียบร้อยแล้วก็ให้ดูภาพที่ร่างเอาไว้แล้วก็เขียน Style Sheets จนพรีวิวแล้วเหมือนกับหน้าตาที่ได้ร่างเอาไว้ ประเด็นสำคัญคือเราต้องกำหนดในแบบ Relative ก็คือการกำหนดขนาดให้สัมพันธ์กับสิ่งที่อยู่ใกล้เคียง อันดับแรกคอ layout ตามด้วย image และอย่าลืมเรื่องของ font ด้วย
  4. หา Breakpoints และทำการเขียน Media Queries – หากลองพรีวิวด้วยความกว้าง 300px ภาพที่อยากเห็นคือทำให้ผู้ใช้เห็นง่ายสุดจากนั้นก็ทำการขยายใหญ่เพิ่มไปเรื่อยๆ องค์ประกอบต่างๆ ก็ยังคงแสดงผลอยู่ในระดับหนึ่ง เราก็ปรับให้ใช้งานสะดวกขึ้นที่เรียกว่า Breakpoint ก็ให้ใช้ Media Queries สำหรับใส่ style sheets สำหรับ Breakpoint นั้น
  5. กำหนด Viewpoint Meta Tag – เข้าใจง่ายๆ ก็คือการปรับให้หน้าเว็บของเราพอดีกับตัวหน้าจอซึ่งจำเป็นจะต้องมีการกำหนดขนาดเพื่อให้เวลาผู้ใช้งานเปิดจากมือถือหน้าเว็บที่ได้ก็จะมีความพอดีกับมือถือของพวกเขาเอง
  6. ตรวจสอบกับมือถือจริง – นี่ก็คือขั้นตอนสุดท้ายเมื่อเราทำทุกอย่างเรียบร้อยก็ให้ลองตรวจสอบดูจากมือถือที่ใช้งานจริงว่าเป็นไปอย่างที่ใจต้องการหรือไม่หากมีข้อผิดพลาดอะไรก็ให้แก้ไขไปตามสิ่งที่ควรจะเป็น

ทำเว็บไซต์ขายของ ธีมไหนเหมาะที่สุด

เดี๋ยวนี้การขายของออนไลน์ไม่ได้ง่ายเหมือนเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว เนื่องจากว่าตอนนี้มีคนเข้ามาค้าขายในโลกออนไลน์เยอะมากๆ ทั้งหน้าเก่า หน้าใหม่ หรือ ขายปลีกระดับยักษ์ก็ลงมาเหมือนกัน หากเราเป็นคนหนึ่งที่คิดจะทำเว็บไซต์ขายของอะไรสักอย่าง การเลือกธีมมาตกแต่งร้าน(เว็บไซต์)ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการดึงคนเข้าร้านและซื้อของ

ธีมฟรี ของดีแต่อย่าใช้เลย

หากเราคิดจะทำร้านค้าออนไลน์อย่างจริงจัง ไม่ได้ทำเล่นหรือทำเพียงแค่ส่งอาจารย์ สิ่งแรกที่เราอยากแนะนำก็คือ ธีมฟรีที่หาได้ทั่วไปนั้นของดี แต่อย่าใช้เลย เนื่องจากมีคนใช้กันเกลื่อนกลาดมากๆ ขืนเราไปหยิบมาใช้อีกนอกจากจะไม่เด่นแล้ว ลูกค้าอาจจะมองว่าเราเป็นร้านค้าของก็อปไปเลยก็ได้ เลือกซื้อธีมที่เข้าจัดหมวดหมู่สำหรับร้านค้าขายของดีกว่า มีเพียบไม่แพงอย่างที่คิด อีกอย่างธีมเสียเงินเค้าสามารถปรับเปลี่ยนได้หลายอย่าง ทำให้เราสามารถเล่นสี หรือลวดลายให้แตกต่างจากร้านอื่นจนเด่นขึ้นมาก็ได้ อย่าลืมว่า เด่นกว่าก็โดนก่อน ขายได้ก่อน

ธีมขายของรูปภาพต้องเด่น

การเลือกธีมสำหรับร้านค้าขายของออนไลน์นั้น หลักใหญ่ใจความต้องอยู่ที่เรื่องของรูปภาพก่อนเลย เพราะรูปภาพจะเป็นตัวบ่งบอกถึงสินค้าและบริการของเราได้อย่างดีที่สุด ดังนั้นควรเลือกธีมที่มีการจัดวางเลย์เอาต์ ให้รูปภาพเด่น และมีปริมาณเยอะที่สุด(แต่ไม่เยอะจนรกนะ) ทริคเล็กๆที่เราแอบบอกให้ตรงนี้ก็คือ พื้นหลังที่เราเลือกใช้ควรเป็นพื้นหลังสีทั่วไปอย่างสีขาวจะดีที่สุด เพราะสีอ่อนจะทำให้ภาพสินค้าที่เราวางลงไปนั้น ดูเด่นและมองเห็นง่ายมากที่สุด

ฟังก์ชั่นการใช้งานกดง่าย

จากเรื่องของหน้าตาของเว็บไซต์ไปแล้ว เรื่องของฟังก์ชั่นการใช้งานต้องง่ายด้วย ง่ายตรงนี้แบ่งออกได้สองความหมาย หนึ่งง่ายสำหรับเจ้าของเว็บไซต์ในการตกแต่ง ปรับปรุง เดี๋ยวนี้ไม่ต้องไปถามหาการใส่โค้ดอะไรแล้ว อยากได้อะไรแบบไหนก็คลิ๊กๆ ลากๆไปก็เสร็จ ถ้ายังไม่ง่ายถึงขนาดนี้แสดงว่าไม่ควรใช้แล้ว สองง่ายในมุมของผู้ใช้งาน ยิ่งหากเป็นเว็บไซต์ขายของด้วยแล้วละก็ วิธีการสั่งซื้อและจ่ายเงิน ยืนยันตัวตน ที่อยู่ ต้องง่าย กดรูปตะกร้า แล้วข้อมูลต้องไป ต้องลิงค์ให้เสร็จสรรพ เกิดลูกค้าต้องการสินค้าแล้วกดไปไหนไม่รู้ ซื้อไม่ได้สักที ลูกค้าจะไม่ซื้อ ไปซื้อร้านอื่นแน่นอน ตรงนี้ให้เราไปลองดูร้านค้าใหญ่อย่าง ลาซาด้า ดูก็ได้ แบบนั้นแหละถึงจะเรียกว่าง่าย เป็นธีมที่เหมาะสำหรับเว็บไซต์ซื้อขายของอย่างแท้จริง

ทำเว็บไซต์ ไม่อยากพลาดต้องเลือกธีมให้ดี

การทำเว็บไซต์ เดี๋ยวนี้ต้องบอกเลยว่าง่ายขึ้นกว่าเดิมเยอะ คนที่ไม่ได้มีความรู้เรื่องของคอมพิวเตอร์หรือการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์ ก็สามารถที่จะออกแบบเว็บไซต์ของตัวเองได้เลย โปรแกรมสำเร็จรูปบวกกับตัวช่วยต่างๆมีเพียบให้เลือกใช้ ทำให้การทำเว็บไซต์เดี๋ยวนี้ กลายเป็นว่าเอกลักษณ์ของเว็บ หรือ ธีมของเว็บเป็นเรื่องที่สำคัญไปเสียแล้ว

ธีมเป็นตัวบอกถึงเรื่องราวของเว็บ

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ธีมกลายเป็นตัวสำคัญของการเว็บไซต์ นั่นเป็นเพราะว่าธีมของเว็บนั้นเป็นตัวบ่งบอกเรื่องราวของเว็บ หรือพูดง่ายๆจะเป็นสัญลักษณ์ของเว็บนั้นนั่นเอง อย่างเช่น หากใครเคยเข้าเว็บไซต์ soccersuck พอเข้าไปแล้วจะเห็นหญ้าเป็นพื้นหลัง ส่วนสัญลักษณ์ด้านบนเป็นรูปเจ้าของเว็บแบบการ์ตูน อย่างนี้พอเข้าไปก็เห็นแล้วรู้เลยว่ากำลังเข้ามาสู่เว็บที่มุ่งเน้นเกี่ยวกับฟุตบอลเป็นหลัก เป็นต้น

ธีมที่ดีทำให้ใช้งานเว็บได้ดีกว่า

การเลือกธีมสำหรับทำเว็บไซต์นั้น นอกจากความหมายเกี่ยวกับเรื่องของสีสันแล้ว อีกความหมายหนึ่งก็หมายถึงเรื่องของฟังก์ชั่นการใช้งานของเว็บด้วย เรื่องสำคัญอยู่ตรงที่ว่าเราจะต้องหาธีมที่เหมาะสมและฟังก์ชั่นการใช้งานเหมาะกับจุดประสงค์ของเว็บเรา อย่างเช่น หากเราต้องการทำเว็บไซต์เกี่ยวกับการซื้อ ขาย สินค้าหรือบริการต่างๆ ก็ควรจะเลือกธีมที่มีฟังก์ชั่นให้สามารถกดซื้อ ขาย จอง สินค้าและบริการของเราได้ด้วย เพราะฟังก์ชั่นการทำงานเหล่านี้หากออกแบบมาให้ทำง่าย เข้าใจง่าย และเข้าถึงง่ายแล้ว โอกาสที่คนจะติดใจมาเข้าเว็บไซต์เราบ่อยๆก็มีสูงตามไปด้วย

เรื่องของทฤษฏีสีอย่าได้ลืม

อีกเรื่องที่ลืมไปไม่ได้เลย ในการเลือกธีมเข้ามาให้เหมาะสมกับเว็บไซต์ นอกจากฟังก์ชั่นการใช้งานที่บอกไปเมื่อกี้แล้วเรื่องของความสวยงาม เจ้าของเว็บก็มองข้ามไปไม่ได้เช่นเดียวกัน ทฤษฏีง่ายๆที่เราควรหยิบเข้ามาพิจารณาก็คือเรื่องของสี หรือ คู่สีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสีโทนร้อน สีโทนเย็น เหล่านี้เป็นต้น การเลือกสีที่เหมาะสมเวลาคนเข้ามาก็จะเกิดความประทับใจได้เหมือนกัน แต่ถ้าเลือกคู่สีมาไม่ได้เรื่องละก็ ถึงเนื้อหาดีแต่คนก็คงปิดเว็บหนีไปอยู่ดี

ธีมฟรีหรือธีมเสียเงิน

เรื่องสุดท้ายที่คนทำเว็บต้องรู้ในการเลือกธีมก็คือ เราจะเลือกธีมแบบของฟรีหรือเสียเงินดี โดยที่การเลือกนั้นก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ถ้าเลือกของฟรีจริงอยู่ว่าประหยัดงบประมาณ แต่อีกทางหนึ่งของฟรีก็เป็นของที่คนอื่นเค้าใช้กัน ไม่แตกต่างกันเท่าไร ทำเว็บไปคนก็อาจจะจดจำได้ยาก แต่หากเลือกธีมเสียเงินนอกจากได้ความแตกต่างแล้ว ยังสามารถอัพเดตธีมใหม่ๆ ลูกเล่นใหม่ ที่แบบฟรียังไม่มี มาให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้เว็บไซต์ได้อีกด้วย ไม่นับเรื่องความสวยงามที่มีให้เลือกเยอะกว่าเห็นๆ ดังนั้นหากอยากทำเว็บไซต์ไม่ให้พลาด ต้องเลือกธีมให้ดี

ไลน์ธีมบราว ของดีและของฟรี

หากจะพูดถึงแอพพลิเคชั่นที่เกือบทุกคนที่มีสมาร์ทโฟนจะต้องมีติดเครื่องไว้เชื่อเลยว่า โปรแกรมไลน์ น่าจะเป็นหนึ่งในนั้นแน่นอน นอกจากความสะดวกในการสื่อสารแล้ว ลูกเล่นที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของโปรแกรมนี้ก็คือการที่เราสามารถเปลี่ยนธีมของไลน์ที่เราเลือกใช้อยู่ได้ตามชอบใจ ซึ่งก็มีธีมให้เลือกมากมายหลายแบบตามความต้องการ ซึ่งมีทั้งแบบเสียเงินซื้อหรือแบบฟรี

ธีมบราว สวยและฟรี

สมมุติว่าเราเป็นคนหนึ่งเริ่มเบื่อกับ ธีมดั้งเดิมที่ตั้งตั้งมาพร้อมกับโปรแกรมแล้วต้องการเปลี่ยน แต่ไม่อยากเสียเงิน เชื่อว่าตัวเลือกที่เราจะแนะนำนี่ถือว่าเข้าสเปคเลย เพราะมันคือไลน์ธีมบราว ที่เน้นไปที่เจ้าหมีสีน้ำตาล ที่จะมาทำหน้าที่สัญลักษณ์ในหัวข้อต่างๆแทนของเดิมที่มีอยู่ สำคัญตรงที่ว่า ธีมนี้ ฟรี ไม่ต้องเสียเงินเลยแม้แต่บาทเดียว

ธีมบราว แตกต่างจากธีมธรรมดาตรงไหน

ธีมบราว เจ้าหมีสีน้ำตาลตัวนี้มีอะไรให้กับเราบ้าง เริ่มกันที่หน้าจอเริ่มต้นโปรแกรม จากคำว่า LINE แบบทั่วไป ก็จะเปลี่ยนเป็น เจ้าหมีสีน้ำตาล นอนเล่นในทุ่งหญ้าสีเขียว คู่กับเจ้าเป็ดน้อย โดยมีคำว่า LINE เป็นสีน้ำตาลอยู่ด้านบน เมื่อเข้ามาในโปรแกรมแถบบนสุดจะกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม บรรทัดต่อมาจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนแล้วให้เจ้าหมีสีน้ำตาลแทนหัวข้อต่างๆ ทั้ง 4 ข้อ ส่วนด้านล่างก็เหมือนเดิม สีขาว แต่หากเราเข้าไปที่หน้าจอการสนทนา พื้นหลังจะเปลี่ยนไปจากสีขาวจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน ส่วนช่องคำพูดของเราจากเดิมเป็นสีเขียว ก็จะเป็นสีน้ำตาลเข้มขึ้นมา

ธีมบราว เหมาะกับผู้ชาย

ธีมบราว ตัวนี้เห็นแวบแรกผู้เขียนรู้สึกชอบเลยว่า ถึงแม้ว่าตัวเองจะไม่ได้เป็นคนที่ชอบสีน้ำตาลอยู่แล้วก็ตาม ธีมเจ้าหมีตัวนี้เหมาะมากเลยกับผู้ชาย ที่อยากจะเปลี่ยนธีมใหม่ๆบรรยากาศใหม่ๆบ้าง อีกอย่างสีน้ำตาลอ่อนก็บ่งบอกความเข้มของผู้ชายได้ดี ใครที่เป็นผู้ชายสนุกสนาน ธีมบราวเจ้าหมีสีน้ำตาลนี่ถือว่าเข้ากันดีทีเดียว

ธีมบราว ไม่ทำให้แสบตา

ข้อดีอีกอย่างหนึ่งที่ธีมบราวตัวนี้ให้กับเราได้ก็คือมันจะไม่ค่อยแสบตาเท่าไรเวลาเปิดข้อความขึ้นมา บางธีมอย่างสีขาว หรือ สีชมพู เวลาจะเปิดโปรแกรมขึ้นมา หากเปิดตอนที่เราอยู่มืดในห้องนอนนี่บางทีก็แสบตาจนต้องหันหน้าหนีก็มีเหมือนกัน แต่กับธีมบราวตัวนี้ไม่เป็นอย่างนั้น อาจจะเป็นเพราะสีน้ำตาลมันเข้มอยู่แล้วเลยไม่ค่อยแสบตาเท่าไร ดังนั้นถ้าหนุ่มๆหรือสาวๆคนไหนอยากจะลองเปลี่ยนบรรยากาศการใช้งาน ไลน์ ให้แปลกตาด้วยการเปลี่ยนธีมไลน์ละก็ ลองมาเริ่มต้นที่ ธีมบราวตัวนี้ดู เชื่อเลยว่าเราจะหลงรักเจ้าหมีสีน้ำตาลตัวนี้ขึ้นมาอย่างไม่รู้ตัว